งานศึกษาวิจัยนี้ได้เปรียบเทียบความสัมพันธ์ของกายวิภาคศาสตร์ของใบและปริมาณแคปไซซินในพริกขี้หนูสวนและพริกกระเหรี่ยงเพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในระดับพันธุ์จากการศึกษา พบว่าใบพริกขี้หนูสวนและพริกกระเหรี่ยงประกอบด้วยเนื้อเยื่อชั้นผิวของใบมีลักษณะที่เหมือนกันปากใบแบบอะนอโมไซติกและแอนไอโซไซติก โดยพบปากใบแบบอะนอโมไซติกเป็นส่วนใหญ่ความยาวของแพลิเซดของพริกขี้หนูสวนยาวกว่าพริกกระเหรี่ยง ค่าดัชนีปากใบ (stomatal index) ของผิวใบด้านบนและด้านล่างของพริกขี้หนูสวนมีค่ามากกว่าพริกกระเหรี่ยงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05)เมื่อเปรียบเทียบขนาดโครงสร้างภายนอกของใบพริกขี้หนูสวน ความกว้างและความยาวของเส้นกลางใบ และความหนาแผ่นใบพบว่ามีขนาดใหญ่กว่าพริกกระเหรี่ยง จากการศึกษาพบว่า ปริมาณแคปไซซินเพิ่มขึ้นตามระยะความแก่ของพริกจากสีเขียวจนถึงสีแดง ปริมาณแคปไซซินในผลพริกกระเหรี่ยงสูงกว่าพริกขี้หนูสวน
This research had studied the comparative leaves anatomy and capsaicin content in Prik Keenu Suan and Prik Ka Liang aiming to use as a basis of chili varieties. The cells of epidermal layer of Prik Keenu Suan and Prik Ka Liang were similar. The stomata were more anomocytic types than anisocytic. The palisade cell of Prik Keenu Suan was longer than that of Prik Ka Liang. The stomata index of upper surface and lower surface of Prik Keenu Suan were higher than Prik Ka Liang and significantly different (P<0.05). The study of leaves structure found that the midrib width and length, blade thickness of Prik Keenu Suan were larger than that Prik Ka Liang. It was found that the capsaicin content in both varieties increased with the more ripening of the chili, from green to red color. The capsaicin content in Prik Ka Liang was higher than in Prik Keenu Suan.
There are 899 online
All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand