วารสารพฤกษศาสตร์ไทย สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
     
แสดงบทความ
 
ชื่อบทความ(ไทย): ผลของความเค็มต่อการเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาคของหญ้าสะกาดน้ำเค็ม (Paspalum vaginatum Swartz) ในพื้นที่นากุ้งทิ้งร้าง
ชื่อบทความ(Eng): Salt affected on anatomical changes of sea-shore paspalum (Paspalum vaginatum Swartz) in abandoned shrimp ponds
ชื่อผู้แต่ง(ไทย): อธิภัทร เงินหมื่น* อุปถัมภ์ มีสวัสดิ์ และ ช่อทิพย์ ปุรินทวรกุล
ชื่อผู้แต่ง(Eng) : ATHIPAT NGERNMUEN*, UPATHAM MEESAWAT & CHOATHIP PURINTAVARAGUL
เลขที่หน้า: 107  ถึง 118
ปี: 2556
ปีที่: 5
ฉบับที่: 2   แสดงบทความทั้งหมดของฉบับ
บทคัดย่อ:

     หญ้าสะกาดน้ำเค็ม (Paspalum vaginatum Swartz) เป็นพืชชนิดเด่นที่พบในพื้นที่นากุ้งทิ้งร้าง ตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา นำหญ้าสะกาดน้ำเค็มจากพื้นที่ศึกษามาปลูกในสารละลาย Hoagland ที่มีเกลือโซเดียมคลอไรด์ความเข้มข้น 0, 50, 100, 200 และ 300 มิลลิโมลาร์ ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน พ.. 2555 ศึกษาลักษณะทางกายวิภาคของพืช หลังจากปลูกเป็นเวลา 60 วัน พร้อมวัดค่าการนำไฟฟ้า (EC) ทุกระดับความเข้มข้นพบว่าหญ้าสะกาดน้ำเค็มสามารถรอดได้ในทุกชุดการทดลอง ยกเว้นความเข้มข้นที่ 300 มิลลิโมลาร์ และความเค็มส่งผลต่อลักษณะทางกายวิภาคเมื่อวิเคราะห์ด้วย DMRT ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 พบว่าในส่วนของใบและลำต้นมีความหนาของเนื้อเยื่อชั้นผิว และเปอร์เซ็นต์ของเนื้อเยื่อสเคลอเรงคิมาเพิ่มมากขึ้น และความหนาของชั้นสเคลอเรงคิมา ในลำต้นเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน ในส่วนของรากพบเปอร์เซ็นต์ของเมตาไซเล็มลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติประกอบกับค่า EC ของสารละลายธาตุอาหารของชุดการทดลองในทุกความเข้มข้นมีค่าน้อยกว่าเมื่อ
เปรียบเทียบกับค่า EC ของชุดควบคุม ทั้งนี้การปรับเปลี่ยนลักษณะทางกายวิภาคของหญ้าสะกาดน้ำเค็มมีความสัมพันธ์กับการอยู่รอดในสภาวะความเค็มที่สูงและพืชชนิดนี้สามารถลดค่า 
EC ของสารละลายธาตุอาหารได้

     Sea-shore paspalum (Paspalum vaginatum Swartz) is dominant species in abandoned shrimp ponds at Khutao sub-district, Hat Yai district, Songkhla province. The sea-shore paspalums from the study sites were cultivated in Hoagland’s nutrient solution supplemented with Sodium chloride (NaCl) at 0, 50, 100, 200 and 300 mM during June to September 2012. The anatomical characters were observed after 60 days cultivation and also the electrical conductivity (EC) of nutrient solutions was measured. The results showed that the sea-shore paspalum survived in all treatments except in 300 mM NaCl and salinity affected to the anatomical characters analyzed by DMRT at a significance level of 0.05. It was found that the epidermis thickness and sclerenchyma area of the leaves and stems were increased. The sclerenchyma thickness of stem was significantly increased. In the roots, the metaxylem area was significantly decreased. In addition, the EC values of nutrient solutions in all treatments were less than control treatment. Anatomical changes of the sea-shore paspalum related to the survival in high salinity conditions. Moreover, this plant could reduce the EC values of nutrient solution.

download count:
 



    right-buttom
     
 

There are 182 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand