วารสารพฤกษศาสตร์ไทย สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
     
แสดงบทความ
 
ชื่อบทความ(ไทย): การประเมินความทนเค็มและทนแล้งของข้าวสีพื้นเมืองช่วงระยะต้นกล้า โดยใช้การวิเคราะห์จัดกลุ่มหลายตัวแปร
ชื่อบทความ(Eng): Evaluation of salinity and drought tolerance in landrace colour rice genotypes at seedling stage using multivariate cluster analysis
ชื่อผู้แต่ง(ไทย): ปัญญา มาดี1 ปิยะดา ธีระกุลพิศุทธิ์1,* จิรวัฒน์ สนิทชน1,2 วัฒนชัย ล้นทม1 วัฒนา พัฒนากูล1 และ จรัญจิต เพ็งรัตน์3
ชื่อผู้แต่ง(Eng) : PUNYA MADEE1, PIYADA THEERAKULPISUT1,*, JIRAWAT SANITCHON1,2, WATANACHAI LONTOM1, WATTANA PATTANAKUL1 & JARANJIT PENGRAT3
เลขที่หน้า: 211  ถึง 218
ปี: 2557
ปีที่: 6
ฉบับที่: พิเศษ   แสดงบทความทั้งหมดของฉบับ
บทคัดย่อ:

     การประเมินอาการผิดปกติของใบและต้นกล้าที่เป็นผลของความเครียดเค็มและเครียดแล้งเป็นวิธีที่สะดวกรวดเร็วและแม่นยำสูงถูกนำมาใช้ในการคัดเลือกพันธุ์ข้าวทำการคัดเลือกพันธุ์ข้าวสีพื้นเมือง 40 พันธุ์ เปรียบเทียบกับพันธุ์มาตรฐานทั้งทนเค็มและทนแล้ง (Pokkali สำหรับเครียดเค็ม และ IR62266, IR57514, CT9993 สำหรับเครียดแล้ง) ในสารละลายธาตุอาหาร บันทึกอาการผิดปกติของใบตามเกณฑ์มาตรฐานและเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตภายหลังได้รับความเครียดนาน 10 และ 15 วัน ในกลุ่มเครียดเค็มที่เติม 150 มิลลิโมลาร์โซเดียมคลอไรด์ และ 27 และ 42 วัน ในกลุ่มเครียดแล้งที่เติม 20% โพลีเอทีลีนไกลคอล-6000 สามารถจัดกลุ่มข้าวได้ 5 กลุ่ม : กลุ่มทนทั้งความเครียดเค็มและเครียดแล้ง กลุ่มทนทั้งความเครียดเค็มและเครียดแล้งปานกลางกลุ่มทนความเครียดแล้งปานกลางแต่อ่อนแอต่อความเค็ม กลุ่มทนความเครียดแล้งปานกลางแต่อ่อนแอมากต่อความเค็มและกลุ่มอ่อนแอมาก ทั้งความเครียดแล้งและความเครียดเค็ม ลักษณะอาการของใบและเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตมีความแตกต่างกันในแต่ละกลุ่ม ยกเว้นเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตในวันที่ 27 ของกลุ่มเครียดแล้ง ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ช่วยระบุระดับความทนเค็มและทนแล้งในข้าวสีพื้นเมืองและเลือกข้าวบางพันธุ์ไปใช้ศึกษาสรีรวิทยาเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับนักปรับปรุงพันธุ์ข้าวต่อไป

     Evaluation of injury symptoms of leaves and seedlings caused by salt and drought stress is a simple, rapid and accurate tool for screening rice for salt and drought tolerance. Forty landrace colour rice genotypes were grown in hydroponic solutions together with standard check tolerance genotypes (Pokkali for salt stress, and IR62266, IR57514 and CT9993 for drought stress). Injury symptoms score and survival percentage were recorded at 10 and 15 days after exposure to 150 mM NaCl, and 27 and 42 days after treatment with 20% PEG-6000. Rice genotypes were classified into five tolerance groups: tolerant to both stresses (T), moderately tolerant to both stresses (MT), moderately tolerant to drought but sensitive to salt stress (MDSS), moderately tolerant to drought but highly sensitive to salt stress (MDHS) and highly sensitive to both stresses (HS). The mean of injury symptom scores and survival percentage were significantly different among the five tolerance groups except for survival percentage at 27 days after drought stress. Some genotypes representing each tolerance group have been selected for further physiological studies to provide useful information for rice breeders.

download count:
 



    right-buttom
     
 

There are 520 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand