วารสารพฤกษศาสตร์ไทย สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
     
แสดงบทความ
 
ชื่อบทความ(ไทย): ความหลากหลายของกล้วยไม้ตามเส้นทางศรีฐาน–หลังแป อุทยานแห่งชาติภูกระดึง จังหวัดเลย
ชื่อบทความ(Eng): Orchid diversity along Sri Than–Lang Pae trail at Phu Kradueng National Park, Loei Province
ชื่อผู้แต่ง(ไทย): กรกช ดวงดี1 ต่อศักดิ์ สีลานันท์1, * และ ฑิตศักดิ์ สุริยาชัยวัฒนะ2, 3
ชื่อผู้แต่ง(Eng) : Korakoch Duangdee1, Tosak Seelanan1, * & Thittasak Suriyach aiwatthana2, 3
เลขที่หน้า: 255  ถึง 272
ปี: 2559
ปีที่: 8
ฉบับที่: 2   แสดงบทความทั้งหมดของฉบับ
บทคัดย่อ:

     การศึกษาความหลากหลายของกล้วยไม้ในอุทยานแห่งชาติภูกระดึงจังหวัดเลย ระหว่างเดือนตุลาคม พ.. 2557 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.. 2559 ในเส้นทางสำรวจ 5 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางหน่วยพิทักษ์ฯ หนองผักบุ้ง เส้นทางหน่วยพิทักษ์ฯ นาน้อย เส้นทางหน่วยพิทักษ์ฯ พองหนีบ เส้นทางหน่วยพิทักษ์ฯ อีเลิศ และเส้นทางศูนย์บริการนักท่องเที่ยวศรีฐาน ซึ่งเป็นเส้นทางหลัก พบกล้วยไม้ทั้งหมด 2 วงศ์ย่อย 36 สกุล 76 ชนิด ได้แก่ Epidendroideae พบ 29 สกุล 63 ชนิด และ Orchidoideae พบ 7 สกุล 13 ชนิด แบ่งเป็นกล้วยไม้อิงอาศัย 33 ชนิด พบได้ในป่าทุกแบบ ที่ระดับความสูง 276–1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล กล้วยไม้ที่ขึ้นบนหิน 8 ชนิด พบมากในบริเวณป่าดิบเขาต่ำที่ระดับความสูงมากกว่า 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล ยกเว้น Bulbophyllum rufinum Rchb.f. ที่พบในป่าเต็งรัง ระดับความสูง 553 เมตร จากระดับน้ำทะเล กล้วยไม้ดิน 32 ชนิด พบได้ในป่าทุกแบบ ที่ระดับความสูง 288–1,200 เมตร จากระดับทะเล และกล้วยไม้ที่มีลักษณะวิสัยมากกว่าหนึ่งแบบพบ 3 ชนิด ในป่าดิบเขาต่ำ ระดับความสูง 1,100–1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล สกุลที่พบมากที่สุดคือ Dendrobium Sw. รองลงมาคือ Bulbophyllum Thouars กล้วยไม้ที่สำรวจพบทั้งหมด 76 ชนิด มีกล้วยไม้หนึ่งชนิดที่จัดอยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ (EN) คือ Didymoplexiella siamensis (Rolfe)Seidenf. ซึ่งเป็นพืชถิ่นเดียวที่พบในป่าดิบเขาทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และป่าดิบชื้นทางภาคกลางของประเทศไทยกล้วยไม้ที่อยู่ในสถานภาพมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (VU) 2 ชนิด คือ Bulbophyllum orientale Seidenf. และ Vanda bensonii Batem. พบกล้วยไม้หายาก 1 ชนิด คือ Calanthe cardioglossa Schltr.

     Exploration of orchid diversity in Phu Kradueng national park, Loei province, was conducted during October, 2014 to February, 2016 in 5 routes: Nong Phakbung Station route, Phong Nip Station route, Na Noi Station route, I-Loet Station route and Visitor Center at Sri Than Station route; the last was the main trail. A total of 76 species 36 genera in 2 subfamilies were collected and identified. There were 29 genera 63 species in subfamily Epidendroideae and 7 genera 13 species in subfamily Orchidoideae. There were 33 epiphytic orchids found in all forest types at elevation of 276–1,200 m whereas only eight lithophytic orchids were collected in lower montane coniferous forest at elevation of more than 1,000 m, except Bulbophyllum rufinum Rchb.f. being found in deciduous dipterocarp forest at 553 m. In addition,32 species of terrestrial orchids were recorded in all forest types at elevation of 288–1,200 m. Also, three species exhibiting more than one type of habit were found in lower montane coniferous forest at altitude between 1,100–1,200 m. Among 36 genera found, the first and second genera with highest number of species were Dendrobium Sw. and Bulbophyllum Thouars, respectively. Among 76 species, one has IUCN status as endangered species, i.e. Didymoplexiella siamensis (Rolfe) Seidenf., an endemic species inhabiting in rain forests in northern, north-eastern and central Thailand. Moreover, two more were listed in IUCN as vulnerable species (VU), namely, Bulbophyllum orientale Seidenf. and Vanda bensonii Batem. Rare species is Calanthe cardioglossa Schltr.

download count: 41
 



    right-buttom
     
 

There are 385 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand