วารสารพฤกษศาสตร์ไทย สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
     
แสดงบทความ
 
ชื่อบทความ(ไทย): กายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบเพื่อการระบุชนิดพืชสกุล Lysiphyllum (Benth.) de Wit วงศ์ถั่ว วงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (Fabaceae-Caesalpinioideae) ใน ประเทศไทย
ชื่อบทความ(Eng): Comparative anatomy as an aid to identification of the genus Lysiphyllum (Benth.) de Wit (Fabaceae-Caesalpinioideae) in Thailand
ชื่อผู้แต่ง(ไทย): กชวรรณ ไวว่อง1 อนิษฐาน ศรีนวล1,* และ วิโรจน์ เกษรบัว2
ชื่อผู้แต่ง(Eng) : Kodchawan Waiwong1, Anitthan Srinual1,* & Wirot Kesonbua2
เลขที่หน้า: 151  ถึง 168
ปี: 2562
ปีที่: 11
ฉบับที่: 2   แสดงบทความทั้งหมดของฉบับ
บทคัดย่อ:

     ศึกษาลักษณะกายวิภาคศาสตร์แผ่นใบก้านใบ และเนื้อไม้ของพืชสกุล Lysiphyllum ที่พบในประเทศไทย จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ Lysiphyllumbinatum (Blanco) de Wit (แสลงพัน), L. hookeri (F. Muell.) Pedley (อรพัน),L. strychnifolium (Craib) A. Schmitz (ขยัน) และ L. winitii (Craib) de Wit (อรพิม) โดยใช้วิธีการลอกผิวใบการทำให้แผ่นใบใส การตัดตามขวางแผ่นใบและก้านใบด้วยกรรมวิธีพาราฟฟิน การศึกษาเนื้อไม้ใน 3 แนวการตัด และการแช่ยุยเนื้อไม้ พบลักษณะรว่ มกันของพืชที่ศึกษาดังนี้ 1) มีผิวเคลือบคิวทินในเนื้อเยื่อชั้นผิวใบเรียบ 2) มีเซลล์หลั่งในเนื้อเยื่อชั้นผิวใบ 3) เซลล์ในเนื้อเยื่อชั้นผิว ในภาคตัดขวางของแผ่นใบมีทั้งรูปร่างกลมและรูปร่างรี 4) แผ่นใบด้านบนและด้านล่างมีลักษณะของชั้นมีโซฟิลล์แตกต่างกัน 5) มีลักษณะของขอบใบโค้งลง 6) มีเซลล์เส้นใยล้อมรอบมัดท่อลำเลียงในแผ่นใบและก้านใบ 7) มีเซลล์หลั่งติดสีแดงเข้มในแผ่นใบและก้านใบ 8) ก้านใบรูปร่างกลม 9) เวสเซลในเนื้อไม้ส่วนใหญ่แยกเป็นเซลล์เดี่ยว 10) รอยเว้าบนผนังเวสเซลเป็นแบบมีขอบและเรียงแบบสลับ 11) มีสารสะสมติดสีแดงเข้มอยู่ภายในเซลล์เวสเซล และ 12) มีผลึกรูปดาวและรูปปริซึมอยู่ในพาเรงคิมาแนวรัศมีของเนื้อไม้ 

     The anatomical studies of four species belonging to genus Lysiphyllum in Thailand were investigated, including L. binatum (Blanco) de Wit, L.hookeri (F. Muell.) Pedley, L. strychnifolium (Craib) A. Schmitz and L. winitii (Craib) de Wit. Samples were studied by leaf epidermis peeling and clearing methods, transverse section of leaf blade and petiole by paraffin method, section on three dimensions and macerate of wood. Common characteristics of studied species are as follow: 1) smooth cuticle 2) the presence of secretory cell in leaf epidermis 3) round and elliptic epidermal cellsin transverse section 4) bifacial leaf 5) round and bend down of leaf margin 6) vascular bundle surrounded by fiber in leaf blade and petiole 7) the presence of secretory cell with dark red staining in leaf blade and petiole 8) circular shaped petiole 9) vessel exclusively solitary 10) alternate bordered intervessel pit 11) the presence of inclusion with dark red staining in vessel member and 12) druse and prismatic crystals in ray parenchyma of wood.


download count: 103
 



    right-buttom
     
 

There are 995 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand