วารสารพฤกษศาสตร์ไทย สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
     
แสดงบทความ
 
ชื่อบทความ(ไทย): สัณฐานวิทยาดอกและความพร้อมในการถ่ายเรณูของเทียนสิรินธรที่ปลูก ในโรงเรือนเพาะชำ: การศึกษาเบื้องต้นเพื่อการอนุรักษ์
ชื่อบทความ(Eng): Floral morphology and pollination readiness of Impatiens sirindhorniae Triboun & Suksathan in a greenhouse: a preliminary study for conservation
ชื่อผู้แต่ง(ไทย): พลวัต ภัทรกุลพิสุทธิ
ชื่อผู้แต่ง(Eng) : PONLAWAT PATTARAKULPISUTTI
เลขที่หน้า: 81  ถึง 91
ปี: 2564
ปีที่: 13
ฉบับที่: 2   แสดงบทความทั้งหมดของฉบับ
บทคัดย่อ:

เทียนสิรินธร (Impatiens sirindhorniae Triboun & Suksathan) (Balsaminaceae) เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย มีรายงานการพบบนเขาหินปูนในจังหวัดกระบี่และสุราษฎร์ธานี พืชชนิดนี้ได้รับผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์อย่างมากจากการเปลี่ยนแปลงถิ่นที่อยู่อาศัยซึ่งอาจส่งผลต่อพาหะถ่ายเรณูและการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติ การวิจัยนี้ศึกษาเทียนสิรินธรที่ปลูกในโรงเรือนเพาะชำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสัณฐานวิทยาของดอกที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายเรณู (2) ระบุระยะของดอกที่เกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียพร้อมถ่ายเรณูและ (3) ระบุว่าเทียนสิรินธรเป็นพืชที่ต้องการพาหะถ่ายเรณูที่มีชีวิตหรือไม่ผลการศึกษาพบว่า (1) ดอกเทียนสิรินธรมีสีชมพูแกมม่วงเข้มจนถึงสีม่วงอ่อน มีเดือยยาวและมีน้ำต้อย (nectar) (2) เกสรเพศผู้ของดอกเทียนสิรินธรครอบเกสรเพศเมียไว้ และหลังจากที่เกสรเพศผู้ร่วงไปแล้วยอดเกสรเพศเมียจึงยื่นออกมาได้ และ (3) ดอกที่ไม่ช่วยถ่ายเรณูด้วยมือไม่สามารถติดผลได้ ขณะเดียวกันดอกที่ถ่ายเรณูด้วยมือทั้งหมดติดผล แสดงให้เห็นว่าเทียนสิรินธรไม่สามารถถ่ายเรณูภายในดอกเดียวกันโดยไม่มีพาหะถ่ายเรณูที่มีชีวิตได้ เนื่องจากยอดเกสรเพศเมียยื่นหลังจากที่เกสรเพศผู้ในดอกเดียวกันร่วงไปแล้ว

Impatiens sirindhorniae Triboun& Suksathan (Balsaminaceae) is anendemic to Thailand. This species is found on limestone hills in Surat Thani and Krabi provinces. This species is facing severe threats in nature due to habitat degradation. The degradation may also affect pollinators and the natural reproduction of I. sirindhorniae. This research was conducted in a greenhouse in Suratthani Rajabhat University to study (1) floral morphology concerning pollination, (2) determine flowering stages that anthers release pollen and stigma become receptive and (3) determine whether I. sirindhorniae relies on biotic pollinators for successful pollination. The results showed that (1) flowers were deep purplish pink to light purple and had long spur with nectar inside, (2) the stigma embedded under the androecium and the stigma emerged after the androecium had fallen and (3) spontaneous self-pollinated flowers did not set fruit, while all the hand cross pollinated flowers produced fruits. These results demonstrate that this species relieson biotic pollinators for pollination because the stigma emerged after the androecium had fallen.


download count: 79
 



    right-buttom
     
 

There are 952 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand