วารสารพฤกษศาสตร์ไทย สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
     
แสดงบทความ
 
ชื่อบทความ(ไทย): กายวิภาคศาสตร์เนื้อเยื่อชั้นผิวใบของพืชสกุลตำหยาว (วงศ์กระดังงา) ใน ประเทศไทย
ชื่อบทความ(Eng): Leaf epidermal anatomy of the genus Alphonsea Hook.f. & Thomson (Annonaceae) in Thailand
ชื่อผู้แต่ง(ไทย): อริสา สมพรหม และ จรัล ลีรติวงศ์*
ชื่อผู้แต่ง(Eng) : ARISA SOMPROM & CHARAN LEERATIWONG*
เลขที่หน้า: 1  ถึง 13
ปี: 2565
ปีที่: 14
ฉบับที่: 1   แสดงบทความทั้งหมดของฉบับ
บทคัดย่อ:

ศึกษากายวิภาคศาสตร์เนื้อเยื่อชั้นผิวใบของพืชสกุลตำหยาวที่พบในประเทศไทยจำนวน 14 ชนิด โดยวิธีการลอกผิวใบ พบลักษณะทั่วไปของเนื้อเยื่อชั้นผิวใบของพืชสกุลนี้ดังนี้ เซลล์ในเนื้อเยื่อชั้นผิวใบมีรูปร่างคล้ายจิกซอว์ ผนังด้านตั้งฉากกับผิวเว้าตื้นหรือผนังด้านตั้งฉากกับผิวเว้าลึก ปากใบมี 2 แบบ ได้แก่ แบบพาราไซติกและพาราเททระไซติก ความยาวเฉลี่ยของปากใบระหว่าง 21.15±1.69 ถึง 26.85±2.30 ไมโครเมตร และมีดัชนีเฉลี่ยของปากใบระหว่าง 12.60±1.87 ถึง 19.41±0.77 เปอร์เซ็นต์ มีผลึก2 ชนิด ได้แก่ ผลึกรูปปริซึมและรูปดาว พืชที่ศึกษาส่วนใหญ่มีขน 1 ชนิด คือ ขนแบบหลายเซลล์ การศึกษานี้สามารถช่วยในการระบุชนิดพืชที่มีสัณฐานวิทยาที่คล้ายคลึงกันได้

Leaf epidermal anatomy of 14 species of the genus Alphonsea Hook.f. & Thomson in Thailand was studied by using the peeling method. The common characteristics of the genus are as follows: the shapes of epidermal cells are jigsaw-like with shallow concave anticlinal walls or deep concave anticlinal walls. Two stomatal types are paracytic and para-tetracytic. Stomatal length ranges from 21.15±1.69 to 26.85±2.30 micrometers. The stomatal index varies from 12.60±1.87 to 19.41±0.77%. Two types of crystal are prismatic and druse crystal. One type of hair is multicellular which is found in most species. This study may help in the identification of plant species with similar morphologies.

download count: 113
 



    right-buttom
     
 

There are 989 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand