วารสารพฤกษศาสตร์ไทย สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
     
แสดงบทความ
 
ชื่อบทความ(ไทย): ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณรงควัตถุ สารประกอบฟีนอล และคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากพืชสมุนไพรบางชนิด
ชื่อบทความ(Eng): The relationships among pigments level, phenolic compound content and antioxidant activity of extracts from some medicinal plants
ชื่อผู้แต่ง(ไทย): พงศธร กล่อมสกุล1* ดวงพร พุ่มจำปา1 สิรีธร คุณประทุม1 และ พรชนก ชโลปกรณ์2
ชื่อผู้แต่ง(Eng) : PONGSATHORN KLOMSAKUL1*, DUANGPORN PUMJUMPA1, SIREETHON KHUNPRATUM1 & PORNCHANOK CHALOPAGORN2
เลขที่หน้า: 59  ถึง 72
ปี: 2555
ปีที่: 4
ฉบับที่: 1   แสดงบทความทั้งหมดของฉบับ
บทคัดย่อ:

     เมื่อทำการสกัดสารจากพืชสมุนไพร 7 ชนิด ซึ่งประกอบไปด้วย เถาวัลย์เปรียง (Derris scandens (Roxb.) Benth.) ชุมเห็ดเทศ (Senna alata (L.) Roxb.) หนุมานประสานกาย (Scheffera leucantha R. Vig.) หมอ่ น (Morus alba L.) คำฝอย (Carthamus tinctorius L.) มะระขี้นก (Momordica charantia L.) และชาเขียวญี่ปุ่น (Camellia sinensis Ktze.) ด้วยเมทานอล 95 เปอร์เซ็นต์ แล้วนำไปตรวจวิเคราะห์พบว่า ชาเขียวญี่ปุ่นมีปริมาณรงควัตถุรวม ซึ่งประกอบด้วย คลอโรฟิลล์ เอ, บี และแคโรทีนอยด์ ในปริมาณมากที่สุด รองลงมาคือ ชุมเห็ดเทศ และหนุมานประสานกาย ในขณะที่สารสกัดจากหม่อนมีปริมาณรงควัตถุรวมน้อยที่สุด นอกจากนั้นยังพบว่า ชาเขียวญี่ปุ่นมีปริมาณสารประกอบฟีนอลทั้งหมดมากที่สุด รองลงมาคือ หม่อน เถาวัลย์เปรียง และชุมเห็ดเทศ ส่วนสารสกัดจากคำฝอย และมะระขี้นก มีปริมาณสารประกอบฟีนอลน้อยที่สุด จากการตรวจสอบด้วยวิธี DPPH พบว่าชาเขียวญี่ปุ่น มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด เมื่อทำการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ พบว่า ปริมาณสารประกอบฟีนอลมีความสัมพันธ์แบบเอ็กซ์โพเนนเชียลกับความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.9523 แต่กลับไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณรงควัตถุกับความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ

          The extracs from seven medicinal plants including Derris scandens (Roxb.)Benth., Senna alata (L.) Roxb., Scheffera leucantha R. Vig., Morus alba L., Carthamus tinctorius L., Momordica charantia L. and Camellia sinensis Ktze. were prepared using 95% methanol as analysis solvent. It was found that C. sinensis extract had the highest level of total pigments (chlorophyll a, b and carotenoids), followed by Se. alata and Sc. leucantha extracts whereas the methanolic extract of M. alba contain the lowest amount of total pigments. Moreover, the methanolic extract from Cam. sinensis showed the highest level of total phenolic content, followed by methanolic extract from M. alba, D. scandens and Se. alata. Both methanolic extract from Car. tinctorius and M. charantia showed the lowest total phenolic compound content. The highest antioxidant capacity was found in the methanolic extract of Cam. sinensis by DPPH assay. There was an exponential relationship between total phenolic compound content and antioxidant property with R2 = 0.9523. In contrast, there was no relationship between pigment level and antioxidant activit.

download count:
 



    right-buttom
     
 

There are 936 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand